ผ้าม่านไร้รอยต่อ สไตล์ใหม่ ดูสวยมีเสน่ห์ ไม่เห็นรอยต่อ ยกระดับความงาม
ผ้าม่านไร้รอยต่อจะมีลวดลายต่อเนื่องตลอดผืน จึงเหมาะกับผ้าม่านที่มีดีไซน์อย่างยิ่ง การจัดลอนผ้าม่านจะไปตามลวดลายผ้า การตัดเย็บผ้าม่านแบบไร้รอยต่อจะต้องใช้ผ้าหน้ากว้างพิเศษ เพราะหน้ากว้างของผ้าจะใช้เป็นส่วนสูงของผ้าม่าน ผ้าม่านที่ไม่มีรอยต่อจะเหมาะกับผ้าม่านสีพื้นด้วยเช่นกัน เพราะผ้าม่านสีพื้นจะเห็นรอยต่อได้ชัดเจน
ผ้าม่านไร้รอยต่อ คือ ผ้าม่านที่เย็บด้วยผ้าที่มีหน้ากว้างพิเศษ หน้าผ้าจะต้องมีความกว้างพอที่จะใช้เป็นความสูงของผ้าม่าน ทำให้สามารถเย็บเป็นผ้าม่านสำเร็จรูปได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องตัดต่อผ้าแต่อย่างใด ผ้าที่มีหน้ากว้างพอที่จะสามารถนำไปใช้เป็นส่วนสูงของผ้าม่านจะมีแบบหน้า 1.50 เมตร แบบหน้า 2 เมตร แบบหน้า 2.40 เมตร แบบหน้า 2.80 เมตร และแบบหน้า 3 เมตร ผ้าม่านที่มีหน้ากว้าง 1.50 เมตร จะสามารถใช้ได้เฉพาะสำหรับเย็บผ้าม่านหน้าต่าง และใช้ได้เฉพาะกับหน้าต่างที่มีความสูงไม่เกิน 1.50 เมตรเท่านั้น ผ้าเย็บผ้าม่านที่มีหน้ากว้างอย่างน้อย 2.4 เมตรขึ้นไปจะสามารถใช้เย็บม่านประตูได้แบบไร้รอยต่อ เพราะความสูงมาตรฐานของประตูจะไม่เกิน 2.3 เมตร
ผ้าม่านไร้รอยต่อจะไม่มีการตัดต่อผ้าม่าน: ผ้าม่านปกติจะเย็บแบบมีรอยต่อ เพราะผ้าที่มีหน้ากว้างพิเศษพึ่งจะเข้าตลาดผ้าเมืองไทยได้ไม่กี่ปี ปกติจะใช้ผ้าม่านหน้า 60 นิ้ว และจะต้องตัดผ้าเป็นชิ้นๆมาต่อกันเป็นผืนเดียว สมัยนี้ ผ้าหน้ากว้างพิเศษเป็นที่นิยมอย่างยิ่ง เพราะการตัดเย็บแบบผ้าม่านไร้รอยต่อจะทำให้ผ้าม่านดูสวยงามยิ่งขึ้น ส่วนการคำนวณและการตัดเย็บผ้าม่านก็จะง่ายขึ้นด้วยเช่นกัน
การจัดวางผ้าในการตัดเย็บผ้าม่าน: ปกติการตัดเย็บผ้าม่านจะใช้หน้าผ้าเป็นส่วนกว้างของผ้าม่าน ยกตัวอย่าง ถ้าเราซื้อผ้าทำผ้าม่านที่มีหน้ากว้าง 60 นิ้ว (1.50 เมตร) ซึ่งเป็นขนาดมาตรฐาน เราจะใช้ตัดเย็บผ้าม่านที่มีความกว้าง 3 เมตร และความสูง 2 เมตร ได้อย่างไร?
การคำนวณผ้าม่านด้วยผ้าหน้า 1.50 เมตร (3 ขั้นตอน)
1. คำนวณความยาวของผ้าแต่ละชิ้น: ขั้นตอนแรก ก่อนจะตัดผ้าออกจากม้วน ต้องดูที่ความสูงของผ้าม่านที่ต้องการ เพราะเราจะตัดผ้าออกจากม้วนตามความสูงของผ้าม่าน ถ้าผ้าม่านมีความสูง 2 เมตร เราต้องตัดผ้า 2.4 เมตร ต่อชิ้น เพราะต้องเผื่อพับบนและพับล่างข้างละ 15-20 ซม. การเผื่อพับบนและพับล่างจะเพิ่มความยาวของผ้าแต่ละชิ้น ผ้าม่านจะต้องติดเหนือหน้าต่างอย่างน้อย 10 ซม และทิ้งลงมาใต้หน้าต่างอย่างน้อย 20 ซม ผ้าม่านสไตล์โมเดิร์นจะนิยมติดผ้าม่านถึงพื้น
2. คำนวณความกว้างของผ้าที่ต้องใช้: ในตัวอย่างข้างต้น ขนาดผ้าม่านที่เราต้องการมีความกว้าง 2 เมตร เราต้องนำไซส์นี้ไปคูณ 2.5 เพราะต้องเผื่อความพลิ้วไหวของผ้าม่าน เราใช้สูตรคูณ 2.5 สำหรับเย็บม่านจีบและม่านตาไก่ (ร้านผ้าม่านบางที่จะเลือกคูณ 2 แต่เราอยากให้ได้ความพลิ้วเต็มที่ เราจึงเลือกคูณ 2.5) พอนำขนาดความกว้างของผ้าม่านไปคูณ 2.5 ในกรณีนี้ คือ 3 เมตร x 2.5 = 7.5 เมตร เราจะเห็นได้ว่าผ้าม่านจะต้องมีความกว้าง 7.5 เมตร
*ถ้าเลือกคูณ 2 ผ้าม่านจะต้องมีความกว้าง 6 เมตร ขนาดที่คำนวณนี้จะเผื่อเย็บริมซ้ายและขวาแล้ว พอเย็บผ้าม่านแบบมีลอนสวยๆ ความกว้างผ้าม่านจะลดลงมาเหลือ 3 เมตร ตามที่ต้องการ
3. คำนวณจำนวนชิ้นผ้าที่ต้องใช้: จากขั้นตอนที่สอง เพื่อให้ได้ลอนตามที่ต้องการสำหรับผ้าม่านที่มีความกว้าง 3 เมตร เราจะต้องใช้ผ้ากว้างถึง 7.5 เมตร แต่ผ้าเย็บผ้าม่านที่เราเลือกมีหน้ากว้างเพียง 1.50 เมตร เพราะฉะนั้นจะต้องต่อผ้าม่าน 5 ชิ้น เพื่อให้ได้ครบ 7.5 เมตร (7.5 เมตร ÷ 1.5 เมตร/ชิ้น = 5 ชิ้น) เราจะต้องใช้ผ้าม่านทั้งหมด 12 เมตร (2.4 เมตร/ชิ้น x 5 ชิ้น = 12 เมตร)
*ถ้าเลือกคูณ 2 ผ้าม่านจะต้องใช้ 4 ชิ้น ( 6 เมตร ÷ 1.5 เมตร/ชิ้น = 4 ชิ้น) เราจะใช้ผ้าเพียง 9.6 เมตร (4 ชิ้น x 2.4 เมตร/ชิ้น = 9.6 เมตร)
ผ้าม่านแยกกลางหรือรวบข้าง?: โดยทั่วไป ผ้าม่านหน้าต่างหรือประตูที่กว้างถึง 3 เมตร จะแบ่งเป็นสองผืน หรือที่เรียกกันว่า “ผ้าม่านแยกกลาง” ต่างจาก “ผ้าม่านรวบข้าง” ที่ใช้ผ้าผืนเดียว ผ้าม่านรวบข้างจะเหมาะกับบานหน้าต่างหรือประตูที่แคบหรือมีความกว้างไม่เกิน 1.2 เมตร ในตัวอย่างผ้าม่านขนาดกว้างคูณสูง 3.0 x 2.0 เมตร เราต้องใช้ผ้าทั้งหมด 5 ชิ้น ผืนหนึ่งจะใช้ผ้า 2 ชิ้นครึ่ง (5 ชิ้น ÷ 2 ผืน = 2.5 ชิ้น/ผืน)
เครื่องคิดเลขผ้าม่าน คิดง่าย รวดเร็ว สะดวก: เพื่อความสะดวกในการคำนวณผ้าสำหรับเย็บผ้าม่าน เราสามารถใช้เครื่องคิดเลขผ้าม่านได้ เครื่องคิดเลขผ้าม่านนี้เป็นของ Sew Helpful สำหรับช่างตัดเย็บผ้าม่านมืออาชีพและช่างมือสมัครเล่น คำอธิบายเป็นภาษาอังกฤษ
เว็บเพจเครื่องคิดเลขผ้าม่าน: พอเข้าเว็บเพจเครื่องคิดเลขผ้าม่าน เราจะเห็นเครื่องคิดเลขอยู่ฝั่งซ้ายมือ ส่วนคำอธิบายภาษาอังกฤษอยู่ฝั่งขวามือ หลังจากใส่ค่าลงไปในช่องด้านซ้ายมือแล้ว ให้กด “Calculate”
วิธีตั้งค่าเครื่องคิดเลขผ้าม่าน เพื่อให้คำนวณผ้าได้อย่างถูกต้อง
ก่อนอื่น ให้คลิกเปิดหน้าเว็บเพจของ เครื่องคิดเลขผ้าม่าน พอเข้าที่หน้าเพจแล้ว จะเห็นเครื่องคิดเลขอยู่ด้านซ้ายมือ ด้านขวาคือคำอธิบายภาษาอังกฤษ เราจะต้องป้อนตัวเลขเข้าไปในช่องต่างๆที่อยู่ด้านซ้ายมือ เพื่อให้เครื่องคิดเลขสามารถคำนวณผ้าให้เราได้ การตั้งค่าต่างๆนี้จะต้องทำเพียงครั้งเดียว หลังจากนั้น เราสามารถใช้กี่รอบก็ได้ เพียงเปลี่ยนตัวเลขความกว้างและความสูงตามขนาดหน้าต่างและประตูของแต่ละบานในบ้าน คำศัพท์ต่างๆ มีตามนี้
Pole/Track Width (cm) : ความกว้างของผ้าม่านที่ต้องการ ในตัวอย่าง ความกว้างที่ต้องการคือ “300” ซม.
Curtain Length (cm) : ความสูงของผ้าม่านที่ต้องการ ในตัวอย่าง ความสูงที่ต้องการคือ “200” ซม.
Fabric Width (cm): หน้ากว้างของผ้าเย็บผ้าม่าน ในตัวอย่าง เราเลือกใช้ผ้าหน้ากว้าง “150” ซม.
Pattern Repeat (cm): ความห่างของลวดลายผ้าจากลายแรกถึงลายที่สอง สำหรับผ้าลายพื้น ให้ตั้งค่าไว้ที่ “1” ซม.
เครื่องคิดเลขผ้าม่าน: หลังจากทำตามขั้นตอนดังกล่าว เครื่องคิดเลขของเราจะมีค่าตามนี้ การตั้งค่าต่างๆจะทำเพียงครั้งเดียว หลังจากนั้น เราเพียงต้องเปลี่ยนค่าของความกว้างและความสูงตามหน้าต่างและประตูของแต่ละบานในบ้าน เครื่องคิดเลขผ้าม่าน ช่วยให้คำนวณผ้าสำหรับตัดเย็บผ้าม่านได้ง่าย รวดเร็ว และสะดวกยิ่งขึ้น
Type of Curtains: จำนวนชั้นของผ้าม่าน ผ้าม่านที่เย็บซ้อนสองหรือสามชั้นเพื่อป้องกันเสียงจะใช้ Interlined แต่สำหรับผ้าม่านทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นผ้าม่านกันUVหรือผ้าม่านธรรมดา ให้เลือก “Lined”
Number of Curtains: จำนวนผืน เราอยากได้ผ้าม่านเป็นผืนเดียว (รวบข้าง) หรือสองผืน (แยกกลาง) ในตัวอย่าง เราต้องการผ้าม่านแยกกลาง ให้ตั้งค่าไว้ที่สองผืน ซึ่งก็คือ “Pair” นั่นเอง
Heading Type : รูปแบบผ้าม่านที่เลือก เราเลือกผ้าม่านจีบ “Pleat” หรือผ้าม่านตาไก่ “Eyelet” ก็ได้ เพราะการคำนวณจะเหมือนกัน ในเครื่องคิดเลข เราจะตั้งค่าไว้ที่ “Triple Pleat” (ผ้าม่าน 3 จีบ) เพราะผ้าม่านสามจีบคือมาตรฐานที่ดูภูมิฐาน มีความสวยงามที่ลงตัวที่สุด
Buckram Depth: ความกว้างของผ้าเทปเคมี ต้องเผื่อพับเย็บริมที่หัวผ้าม่านด้วย ให้ตั้งค่าไว้ที่ “15” ซม.
Desired Fullness Ratio: ตั้งค่าของความพลิ้วผ้าม่านที่ต้องการ ร้านผ้าม่านบางเจ้าเลือกคูณ 2 ให้ผ้าม่านมีลอนพอประมาณ เราเลือกคูณ “2.5” ให้ผ้าม่านมีความพลิ้วลงตัวที่สุด ถ้าเลือกคูณ 2 จำนวนผ้าจะลดลงเพราะจำนวนชิ้นผ้าม่านที่ต้องใช้จะลดจาก 5 ชิ้น เหลือ 4 ชิ้น
Round Down Number of Widths: ถ้าหารจำนวนชิ้นผ้าไม่ลงตัว ให้ปัดลง สำหรับการคำนวณทั่วไป เราไม่จำเป็นต้องคลิกที่ช่องนี้
Add 1 Pattern Repeat: ให้ผ้าม่านมีลวดลายต่อเนื่องตามรอยต่อ สำหรับผ้าลายพื้น เราไม่จำเป็นต้องคลิกที่ช่องนี้
Calculate: ปุ่มคำนวณผ้าม่าน คลิกที่ปุ่มนี้เพื่อให้เครื่องคิดเลขคำนวณจำนวนผ้าที่ต้องใช้ทั้งหมด (จำนวนเป็นเมตร)
Fabric Required (m): จำนวนผ้าที่ต้องใช้สำหรับเย็บผ้าม่าน อย่างที่เห็นในรูปภาพ ผ้าทั้งหมดที่ต้องใช้ คือ 12 เมตร
*ตัวเลขค่าอื่นๆ คือเพื่อให้รายละเอียด แต่ไม่จำเป็นต้องใช้ในการคำนวณผ้าม่าน
เครื่องคิดเลขผ้าม่าน: หลังจากทำตามขั้นตอนดังกล่าว เครื่องคิดเลขของเราจะมีค่าตามนี้ จะเห็นได้ว่าเครื่องคิดเลขผ้าม่านก็สามารถคำนวณเป็น 12 เมตร เท่าที่เราได้คำนวณไว้
เครื่องคิดเลขผ้าม่านนี้ทำให้เราสามารถคำนวณผ้าม่านได้อย่างรวดเร็ว เพียงเปลี่ยนค่าของความกว้างและความสูงตามขนาดบานหน้าต่างและประตูบ้าน การเปลี่ยนค่าความกว้างและความสูงของผ้าม่านจะต้องเปลี่ยนที่ Pole Track Width (ความกว้าง) และ Curtain Length (ความสูง) หลังจากเปลี่ยนสองค่านี้ ให้กดที่ “Calculate” เครื่องคิดเลขจะคำนวณผ้าที่ต้องใช้ การดูจำนวนผ้าที่ต้องใช้ ให้ดูที่ “Fabric Required” เวลาป้อนเลขในความกว้างและความสูงของผ้าม่านที่ต้องการ ให้ใส่ตัวเลขเป็นเซนติเมตร แต่จำนวนผ้าที่เครื่องคิดเลขคำนวณให้จะเป็นเมตร ถ้าเราวัดขนาดหน้าต่างหรือประตูมาเป็นหลา ให้เปลี่ยนขนาดเป็นหน่วยเมตรก่อน
ผ้าเย็บผ้าม่านหน้ากว้างพิเศษจะเหมาะกับผ้าม่านสีพื้น เพราะรอยต่อจะเห็นได้ชัดเจน
ผ้าที่เราเลือกซื้อ สามารถใช้เย็บผ้าม่านไร้รอยต่อได้หรือไม่? วิธีการดูว่าผ้าม่านจะสามารถเย็บแบบไร้รอยต่อได้หรือไม่ คือ ต้องดูที่หน้ากว้างของผ้า ถ้าหน้ากว้างของผ้ามีความยาวพอที่จะปิดเกินความสูงของหน้าต่างหรือประตูบ้านได้ แสดงว่าสามารถเย็บผ้าม่านแบบไร้รอยต่อได้ ยกตัวอย่าง ถ้าประตูบ้านมีความสูง 2.2 เมตร และผ้าเย็บผ้าม่านที่ซื้อมีหน้ากว้างเพียง 2 เมตร เราจะไม่สามารถวางหน้าผ้าตามความสูงได้ เพราะฉะนั้นผ้าม่านจะต้องตัดต่อเป็นชิ้นๆ และการคำนวณจะเหมือนผ้าม่านหน้าปกติ แต่ถ้าประตูบ้านมีความสูง 2.2 เมตร และผ้าเย็บผ้าม่านที่ซื้อมีหน้ากว้าง 2.8 เมตร เราจะสามารถวางหน้าผ้าตามความสูงได้ แม้จะเผื่อพับบนและพับล่างแล้วก็ยังมีผ้าเหลือ
ผ้าม่านไร้รอยต่อจะเหมาะกับผ้าม่านที่มีลวดลายด้วยเช่นกัน เพราะลวดลายผ้าจะต่อเนื่องตลอดผืน ไม่ขาดช่วง การจัดลอนผ้าม่านจะง่ายขึ้นเช่นกัน เพราะช่างผ้าม่านสามารถจัดลอนม่านตามดีไซน์ของผ้า
การจัดวางผ้าในการตัดเย็บผ้าม่าน หน้ากว้างพิเศษ: สำหรับผ้าเย็บผ้าม่านที่มีหน้ากว้างพิเศษ หรืออย่างน้อย 2.4 เมตร ขึ้นไป การวางผ้าจะแตกต่างจากการวางผ้าแบบปกติ เราจะเลือกใช้หน้าผ้าเป็นส่วนสูงแทน อ่านเกี่ยวกับการคำนวณผ้าม่านสำหรับผ้าหน้ากว้างพิเศษได้ที่บทความนี้ จากบทความดังกล่าว เราจะเห็นได้ว่าการคำนวณผ้าม่านจะต่างจากผ้าหน้า 60 นิ้ว หรือ 1.50 เมตร ในตัวอย่างของเรา ขนาดผ้าม่านที่ต้องการเย็บคือ กว้าง 3 เมตร และสูง 2 เมตร ถ้ามีผ้าเย็บผ้าม่านหน้า 2.80 เมตร เราสามารถใช้หน้าผ้าเป็นส่วนสูงได้ทันที เพราะฉะนั้นจะต้องคำนวณแค่ความกว้างของผ้าที่ต้องตัดเท่านั้น ขั้นตอนการคำนวณความกว้างของผ้าที่ต้องใช้จะเหมือนการคำนวณผ้าหน้าปกติ ซึ่งก็คือ ให้นำขนาดความกว้างไปคูณ 2.5 (3 เมตร x 2.5 = 7.5 เมตร) เราจะได้ 7.5 เมตร เท่ากับต้องใช้ผ้าทั้งหมดเพียง 7.5 เมตร ต่างจากผ้าหน้าปกติ ที่ต้องใช้ผ้าทั้งหมด 12 เมตร
*ถ้าเราต้องการคูณ 2 สำหรับลอนผ้าม่าน เราจะต้องใช้ผ้า 6 เมตร ต่างจากผ้าหน้าปกติ ที่ต้องใช้ผ้า 9.6 เมตร
การคำนวณผ้าม่านด้วยผ้าหน้ากว้าง 2.80 เมตร จะง่ายมาก เพียงนำความกว้างของผ้าม่านที่ต้องการไปคูณ 2.5 ก็ได้คำตอบ ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคิดเลขผ้าม่านเหมือนการคำนวณด้วยผ้าหน้ากว้าง 1.50 ม.
ผ้าเย็บผ้าม่านหน้ากว้างพิเศษจะมีหลายชนิด รวม ผ้าม่านกันแสง ผ้าม่าน Blackout ผ้าม่านพิมพ์ลาย ผ้าม่านทอลาย เป็นต้น ที่ร้านผ้าม่าน บริษัท แฟบริค พลัส มีจำหน่ายผ้าเย็บผ้าม่านหน้ากว้างพิเศษหลายชนิด
ข้อดีของผ้าม่านไร้รอยต่อ: อย่างที่ได้เห็นกัน ถ้ามีผ้าหน้ากว้างพอที่จะสามารถใช้เป็นส่วนสูงของผ้าม่านหน้าต่างหรือผ้าม่านประตูได้ เราจะสามารถเย็บผ้าม่านแบบไร้รอยต่อ ข้อดีของผ้าม่านไร้รอยต่อคืออะไร?
ผ้าม่านไร้รอยต่อจะเหมาะกับทั้งผ้าสีพื้นและผ้าที่มีลวดลาย เพราะรอยต่อจะเห็นได้ชัดเจนในผ้าสีพื้น สำหรับผ้าที่มีดีไซน์ ลวดลายผ้าอาจไม่ต่อเนื่องได้ ถ้าต้องการให้ต่อลายผ้า ช่างเย็บผ้าม่านจะต้องใช้ผ้าเพิ่ม
1. เหมาะกับผ้าม่านสีพื้น: ประการแรก คือ ความสวยงาม ผ้าม่านที่ไม่มีรอยต่อจะดูไฮคลาส “Elegant” มีระดับ เหมาะกับสถานที่ระดับไฮเอนด์ ผ้าม่านไร้รอยต่อจะเหมาะกับผ้าสีพื้นโดยเฉพาะ เพราะรอยต่อบนผ้าสีพื้นจะเห็นได้ชัดเจน
2. เหมาะกับผ้าม่านที่มีดีไซน์: ผ้าม่านหน้ากว้างพิเศษจะเหมาะสำหรับผ้าม่านที่มีลวดลายด้วยเช่นกัน เพราะผ้าม่านไร้รอยต่อจะมีดีไซน์ที่ต่อเนื่องตลอดผืน ลวดลายบนผ้าจะไม่ขาดช่วงหรือขาดตอน การที่ลวดลายไม่ขาดช่วงจะทำให้การจัดลอนง่ายขึ้นด้วยเช่นกัน
3. คำนวณผ้าม่านง่าย: ประการที่สาม การคำนวณผ้าม่านจะง่าย จากข้างต้น จะเห็นได้ว่าการคำนวณผ้าม่านหน้ากว้างพิเศษง่ายกว่าผ้าหน้ากว้างปกติ เพราะเราไม่จำเป็นต้องคำนวณชิ้นผ้า ผ้าที่ใช้จะมีเพียงชิ้นเดียวเท่านั้น (หรือสองชิ้นถ้าทำผ้าม่านแยกกลาง)
4. เย็บผ้าม่านสะดวก: ประการที่สี่ การตัดเย็บผ้าม่านจะง่ายและสะดวก เพราะไม่ต้องตัดต่อผ้า การเย็บผ้าม่านหน้าปกติจะต้องตัดผ้าเป็นชิ้นๆและนำมาต่อกัน แต่สำหรับผ้าหน้ากว้างพิเศษ เราตัดผ้าชิ้นเดียว และไม่มีการตัดต่อแต่อย่างใด
ร้านผ้าม่าน ATM Decor บริษัท แฟบริค พลัส จำหน่ายผ้าม่านหน้ากว้างพิเศษหลายชนิด มีให้เลือกหลายสีและหลายดีไซน์ เหมาะกับการตกแต่งบ้านทุกสไตล์ เราจำหน่ายทั้งผ้าหน้ากว้างปกติ 1.50 เมตร (60 นิ้ว) และผ้าหน้ากว้างพิเศษ 2.80 เมตร (110 นิ้ว)
ร้านผ้าม่านพาหุรัด บริษัท แฟบริค พลัส มีจำหน่ายผ้าเย็บผ้าม่านหน้ากว้างพิเศษมากมาย มีทั้งแบบป้องกันUV และแบบปกติ ผ้าเย็บผ้าม่านที่มีหน้ากว้างพิเศษจะเป็นรุ่นกว้าง 2.80 เมตร
ติดต่อสอบถามเกี่ยวกับผ้าเย็บผ้าม่านแต่ละชนิดได้ที่ 02 223 4828 บริษัท แฟบริค พลัส มีหน้าร้านอยู่ติดถนนพาหุรัด แหล่งต้นทุนและตลาดผ้าประเทศไทย