ผ้าม่านเอทีเอ็ม เดคอร์ ดีอย่างไรบ้าง

ผ้าม่านเอทีเอ็ม เดคอร์ ดีอย่างไร?
หลายท่านอาจสงสัยเกี่ยวกับผ้าม่านของ เอทีเอ็ม เดคอร์ และถามว่าเป็นผ้าชนิดไหน มีข้อดีอะไรบ้าง?
ร้านเราจำหน่ายผ้าทำม่านหลายชนิด อย่างเช่น ผ้าทำม่านชนิดซาตินแจ็คการ์ดของเอทีเอ็ม เดคอร์ ทุกม้วนใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ลายลึกเข้าไปในเนื้อผ้า (texture)มีลวดลายสวยหรูในเท็กซ์เจอร์ ถักทอด้วยความประณีต ทำให้เนื้อผ้ามีลายเรียบเนียน นุ่มนวล สีสวยสด ดูหรูสง่างาม นอกจากที่มีลวดลายสวยงามในเนื้อผ้าแล้ว ผ้าของเรายังสามารถกันความร้อนแสงแดดได้ดีอีก ทำให้บ้านของคุณเย็นสบายและทำให้คุณได้ประหยัดแรงงานของเครื่องปรับอากาศ ทำให้ผ้าชนิดนี้เป็นผ้าประหยัดพลังงานอย่างแท้จริง

ผ้าทำม่าน ซาติน แจ็คการ์ดของเราทำด้วยเส้นใยด้ายโพลีเอสเตอร์ซึ่งมีผิวเรียบสม่ำเสมอตลอดเส้น มีความคงทนและแข็งแรง รักษารูปทรงดี ทนทานต่อความร้อน ทนแสงแดดได้โดยที่ไม่ทำให้ผ้ายืด ยับ หรือหด สีของเส้นใยไม่จางลงง่ายๆทำให้การดูแลรักษาผ้าม่านของเราเป็นสิ่งที่ง่าย

ผ้าม่านที่มีเคลือบกันรังสี Ultraviolet (UV)ของเราเป็นผ้าที่มีเนื้อหนา มีน้ำหนัก พริ้ว ลวดลายงดงาม สีสวยสด และมีอายุการใช้งานที่นาน เพราะเป็นผ้าที่ทนทานต่อแสงแดดและความร้อนได้ดีพิเศษกว่าผ้าม่านปกติ เราจำหน่ายผ้าม่านกันรังสี UVหลายชนิด มีแบบเนื้อนุ่ม เนื้อมันวาว เนื้อแบบหนาพิเศษ เป็นต้น และมีสีและลวดลายที่หลากหลาย มีแบบทั้งพื้นเรียบไปถึงแบบมีลวดลายอลังการหรูหรา ผ้าม่านกันUVของเราหรือที่เรียกกันว่าผ้าม่าน blackoutเป็นผ้าที่มีความสวยงามทั้งสองด้าน สวยทั้งด้านหน้าและด้านหลัง (Double Face Beauty) เราอยากใช้ด้านไหนก็ได้เป็นด้านหลักหันเข้ามาในห้อง ใครที่อยู่นอกบ้านและมองเข้ามาทางหน้าต่างก็สามารถเห็นความสวยหรูของผ้าม่านเราได้เช่นกัน ที่ร้านเราจำหน่ายผ้าม่านกันUVที่ใช้เทคโนโลยีการทอด้วยเส้นด้ายสีดำทอแทรกระหว่างชั้นผ้า ผ้าชนิดนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง เวลาเย็บผ้าม่านสำเร็จรูปไม่สามารถเห็นเส้นด้ายสีดำเพราะมีผ้า2ชั้นประกบอยู่ทั้งสองข้างคล้ายๆกับแซนด์วิช เรามีผ้ากันUVแบบชนิดที่ไม่จับฝุ่นละออง ทำให้การดูแลรักษาทำความสะอาดบ้านและห้องของคุณง่ายยิ่งขึ้น

การมีผ้าทำม่านที่มีคุณภาพดีอย่างเดียวไม่พอ การที่มีช่างตัดเย็บมาตัดผ้าม่านให้ออกมาแบบสวยหรูก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกันเพราะการตัดเย็บผ้าม่านเป็นศิลปะชนิดหนึ่ง เราเน้นการจัดลวดลายของผ้าให้เหมาะสม
และเข้าที่สุดกับความสูงและจำนวนลอนของผ้าม่านทำให้ผ้าม่านตัดเย็บออกมาแล้วดูสวยนุ่มนวล นำลวดลายผ้าออกมาให้เด่นชัด ให้ม่านดูสวยไฮคลาสอย่างภูมิฐาน ช่างของเราฝีมือดี เย็บประณีต การบริการติดตั้งดี สุภาพ สะอาด บริการไว เราดูแลงานให้จนจบ
เราคือผู้เขี่ยวชาญงานผ้าม่านโดยเฉพาะ ยินดีให้คุณคำปรึกษาเสมอ จากเนื้อผ้าที่คุณต้องการไปถึงการออกแบบผ้าม่านให้เข้ากับบ้านของคุณมากที่สุด

Read More »

ผ้าทำม่านหน้ากว้าง 2.80 เมตร (110 นิ้ว)

เราต้องใช้หน้ากว้างของผ้าเป็นส่วนสูงหรือส่วนกว้างของผ้าม่าน? การตัดเย็บผ้าม่านด้วยผ้าทำม่านหน้ากว้าง 2.80 เมตร (110 นิ้ว) จะคำนวณผ้าไม่เหมือนการใช้ผ้าทำม่าน หน้ากว้าง 1.50 เมตร
ผ้าม่าน 2.80 เมตร ยอดฮิต: ผ้าทำม่านหน้ากว้าง 2.80 เมตร เป็นที่นิยมอย่างสูงและเป็นผ้าตัดเย็บม่านที่อินเท็รนด์สุดๆ ในเมืองไทย เหตุผลที่ผ้าหน้ากว้าง 2.80 เมตรเป็นยอดฮิตอาจเป็นเพราะการใช้ผ้าทำม่านชนิดนี้ทำให้การตัดเย็บสะดวก ง่าย และได้ประหยัดเวลาในการตัดเย็บ ข้อดีเบอร์หนึ่งของการเลือกใช้ผ้าทำม่านหน้ากว้าง 2.80 เมตร คือผ้าม่านตัดเย็บสำเร็จจะไม่มีรอยต่อ การตัดเย็บผ้าม่านด้วยผ้าหน้ากว้าง 2.80 เมตรจะต่างจากการตัดเย็บผ้าม่านด้วยผ้าหน้ากว้าง 1.50 เมตร เป็นอย่างมาก บทความนี้จะอธิบายความแตกต่างระหว่างการใช้ผ้าหน้ากว้าง 2.80 เมตร กับผ้าหน้ากว้าง 1.50 เมตร ในการคำนวณและตัดผ้าม่าน

ใช้หน้ากว้างผ้าเป็นความสูงผ้าม่านสำเร็จ: ในการตัดเย็บผ้าม่านหน้ากว้าง 2.80 เมตร เราต้องนำหน้ากว้างของผ้ามาทำเป็นความสูงของผ้าม่าน ลวดลายของผ้ามักจะกำหนดให้เราต้องตัดเย็บแบบนี้ อย่างเช่นผ้าทำม่านที่มีเชิงลายสวยๆ เช่นลายปัก ลายฉลุ ลายลูกไม้ ลายแฟนซีดีไซน์ต่างๆ เราจะต้องตัดเย็บผ้าม่านตามความกว้างให้ชายผ้าอยู่ด้านล่าง

ส่วนใหญ่จะมีแค่เฉพาะในกรณีที่เลือกผ้าลายพื้นๆ หรือลายเรียบๆ เท่านั้นที่ไม่จำเป็นต้องตัดเย็บในลักษณะนี้ ในกรณีนี้ เราสามารถใช้หน้ากว้างของผ้ามาตัดตามยาวได้และต่อผ้าเอาเหมือนกับการตัดผ้าม่านด้วยผ้าหน้ากว้าง 1.50 เมตร ไม่ว่าจะตัดเย็บผ้าม่านในรูปแบบใด การใช้ผ้าทำม่านที่มีหน้ากว้าง 2.80  เมตรจะใช้ผ้าในจำนวนที่น้อยกว่าผ้าทำม่านหน้ากว้าง 1.50 เมตร ซึ่งถือว่าเป็นผ้าที่มีหน้ากว้างแล้วในเมืองไทย 

การดูผ้าทำม่านว่าแพงหรือถูกไม่ได้อยู่ที่หน้ากว้างของผ้า แต่จะอยู่ที่เกรดและชนิดของผ้า ในการเปรียบเทียบราคาผ้าทำม่านหน้ากว้าง 2.80 เมตร กับแบบหน้ากว้างมาตรฐานนั้น เราต้องนำราคาผ้ามาหารสอง (โดยประมาณการ) เพื่อเปรียบเทียบได้อย่างถูกต้อง

อย่างเช่นผ้าหน้ากว้าง 2.80 เมตร ที่มี ราคาเมตรละ 200 บาท จะเฉลี่ยแล้วถูกกว่าผ้าหน้ากว้าง 1.50 เมตร ที่มีราคาเมตรละ 120 บาท เป็นต้น

วิธีเปรียบเทียบราคาให้เปลี่ยนหน่วยจากหน้ากว้าง 2.80 เมตร ให้เป็นหน้ากว้าง 1.50 เมตร ก่อน
ให้เราคำนวณดังนี้
(ราคาผ้าต่อเมตร ÷ 2.80 ) x  1.50

ในตัวอย่าง เราต้องเปลี่ยนราคาผ้าหน้ากว้าง 2.80 เมตร (200 บาทต่อเมตร) ให้เทียบเป็นผ้าหน้ากว้าง 1.50 เมตร
( 200 บาทต่อเมตร ÷ 2.80 ) x  1.50 = 107 บาทต่อเมตร

จากการคำนวณ เราจะเห็นได้ว่าผ้าหน้ากว้าง 2.80 เมตร ที่มีราคา 200 บาทต่อเมตร จะมีราคาเทียบเท่ากับผ้าหน้ากว้าง 1.50 เมตร ที่มีราคา 107 บาทต่อเมตร

การที่ผ้ามีหน้ากว้างที่ยาวมาก เราสามารถใช้หน้ากว้างของผ้าเป็นส่วนสูงของหน้าต่างได้ซึ่งจะทำให้การตัดเย็บผ้าม่านง่ายและสะดวก เพราะไม่จำเป็นต้องตัดผ้าเป็นชิ้นๆ เพื่อมาเย็บต่อกันตามยาว ส่วนใหญ่แล้วผ้าหน้ากว้างจะยาวพอสำหรับหน้าต่างประตูบ้านทั่วไปที่มีความสูงไม่ถึง 2.60 เมตร ปกติเราต้องเผื่อขนาดเหนือขอบวงกบไปอีก 10 ซม (ด้านล่างเผื่อได้ถึงพื้น จำนวนผ้าใช้เท่าเดิม) และต้องเผื่อเย็บริมอีก 10 ซม (รวมด้านบนและด้านล่าง) ดังนั้นผ้าชนิดนี้มีหน้ากว้างพอที่จะใช้เป็นความสูงผ้าม่านได้เลย เราจะต้องซื้อจำนวนผ้าตามความกว้างของหน้าต่าง หน้าต่างยิ่งกว้าง จำนวนผ้าที่ต้องใช้ยิ่งมาก แตกต่างกับความสูงหน้าต่างซึ่งจะใช้จำนวนผ้าเท่าเดิมไม่ว่าเราจะตัดเย็บผ้าม่านถึงพื้นหรือเลยใต้วงกบนิดเดียว

การคำนวณผ้าม่านในการตัดเย็บด้วยผ้าหน้ากว้าง 2.80 เมตร จะแตกต่างจากการคำนวณผ้าม่านด้วยผ้าหน้ากว้าง 1.50 เมตร อย่างเช่น ถ้ามีหน้าต่างสูง 1.80 เมตร จากวงกบบนถึงวงกบล่าง และกว้าง 2.0 เมตร จากวงกบซ้ายถึงวงกบขวา เราจะต้องคำนวณจำนวนผ้าที่ต้องซื้อตามความกว้างของหน้าต่าง

วิธีคำนวณผ้าม่านที่ต้องใช้ (เป็นการคำนวณที่ให้ผ้าม่านมีลอนสวย ดูเนียน เรียบหรูอย่างมีระดับ) เราต้องบวกความกว้างไปอีก 20 ซม (0.2 ม) เพื่อเป็นการตัดเย็บม่านให้เลยวงกบซ้ายและวงกบขวาไป ข้างละ 10 ซม และนำความกว้างนี้มาคูณ 2.5  ตามสูตรนี้
สูตรคำนวณผ้าม่านด้วยผ้าหน้ากว้าง 2.80 เมตร
(ความกว้างหน้าต่าง + 20 ซม) x 2.5 = จำนวนผ้าม่านที่ต้องใช้

เราจะสังเกตุได้ว่า ในการตัดเย็บผ้าม่านด้วยผ้าหน้ากว้าง 2.80 เมตร ความสูงของหน้าต่างจะไม่ได้อยู่ในสูตรการคำนวณผ้าม่านเลย

ดังนั้นถ้ามีหน้าต่างที่มีความสูง 1.80 เมตรและกว้าง 2.0 เมตร เราต้องคำนวณผ้าม่านดังนี้
(2.0 เมตร + 0.2 เมตร) x 2.5 = 5.5 เมตร

ในกรณีที่เราอยากได้ผ้าม่านให้สูงมาถึงพื้น (ปกติผ้าม่านควรลอยเหนือพื้น 2 ซม เพื่อจะให้ผ้าไม่สกปรกเวลาเปิดปิดผ้าม่าน แต่การคำนวณไม่แตกต่างกันมาก เพราะการวางรางม่านเราสามารถวางเผื่อขึ้นไปเหนือวงกบได้)
สมมุติว่าความสูงเผื่อไปถึงพื้นเป็นความสูง 2.30 เมตร ให้เราคำนวณตามนี้
(2.0 เมตร + 0.2 เมตร) x 2.5 = 5.5 เมตร

จำนวนผ้าที่ต้องใช้เท่าเดิมเหมือนการตัดเย็บด้วยผ้าม่านสูง 1.80 เมตร

ถ้าหน้าต่างมีความกว้างที่แคบกว่าแต่มีความสูงมากกว่า เราจะใช้จำนวนผ้าม่านน้อยลง
ยกตัวอย่าง มีหน้าต่างสูง 2.5 เมตร และกว้าง 1.8 เมตร ให้เราคำนวณตามนี้
(1.8 เมตร + 0.2 เมตร) x 2.5 = 5 เมตร

จำนวนผ้าที่ต้องใช้ลดลงแม้ว่าหน้าต่างมีความสูงมากกว่า

ถ้าบ้านเรามีหน้าต่างประตูขนาดพิเศษและสูงกว่าหน้าต่างประตูบ้านทั่วไป (หน้าต่างประตูสูงกว่า 2.60 เมตร) เราต้องคำนวณผ้าม่านด้วยผ้าหน้ากว้าง 2.80 เมตร เหมือนกับตัดเย็บด้วยผ้าหน้ากว้าง 1.50 เมตร ซึ่งก็คือต้องตัดผ้าม่านเป็นชิ้นๆ และต่อกันตามความกว้างหน้าต่าง/ประตู

สมมุติว่าเรามีประตูสูง 3.5 เมตร จากวบกบบนถึงพื้น และกว้าง 2.0 เมตร เราจะไม่สามารถใช้หน้ากว้างของผ้าเป็นส่วนสูงได้ เราต้องตัดผ้าเป็นชิ้นๆ มาต่อกันตามความกว้างของประตู ความกว้างต้องคูณ 2.5 เหมือนเดิม ส่วนความสูงให้บวกแค่ 10 ซม (เพราะวัดถึงพื้นแล้ว) เราต้องใช้สูตรนี้

สูตรคำนวณผ้าม่านด้วยผ้าหน้ากว้าง 1.50 เมตร
{(ความกว้าง + 20 ซม) x 2.5} ÷ 2.8 = จำนวนชิ้นของผ้าที่ต้องใช้เพื่อมาต่อกัน
(ความสูง + 10 ซม) = ความยาวของผ้าแต่ละชิ้น
(จำนวนชิ้น x ความยาวของผ้าแต่ละชิ้น) = จำนวนผ้าที่ต้องใช้

สำหรับประตูที่สูง 3.5 เมตร และกว้าง 2.0 เมตร ให้เราคำนวณดังนี้
{2.0 + 0.2) x 2.5} ÷ 2.8 = 1.96 ≅ 2 ชิ้น (จำนวนชิ้นต้องเป็นเลขจำนวนเต็ม ไม่มีเศษส่วน)
(3.5 + 0.1) = 3.6 ม
(2 x 3.6) = 7.2 เมตร
ในกรณีที่มีประตูในขนาดตามนี้ เราต้องใช้ผ้าทำม่านทั้งหมด 7.2 เมตร

ให้เราเปรียบเทียบจำนวนผ้าที่ต้องใช้ถ้าเลือกใช้ผ้าทำม่านหน้ากว้าง 1.50 เมตร สูตรคำนวณมีดังนี้
{(ความกว้าง + 20 ซม) x 2.5} ÷ 1.5 = จำนวนชิ้นของผ้าที่ต้องใช้
(ความสูง + 10 ซม) = ความยาวของผ้าแต่ละชิ้น
(จำนวนชิ้น x ความยาวของผ้าแต่ละชิ้น) = จำนวนผ้าที่ต้องใช้

ดังนั้น ในกรณีที่มีประตูสูง 3.5 เมตร และกว้าง 2.0 เมตร ให้เราคำนวณตามนี้
{2.0 + 0.2) x 2.5} ÷ 1.5 = 3.67 ≅ 4 ชิ้น
(3.5 + 0.1) = 3.6 ม
(4 x 3.6) = 14.4 เมตร
ถ้าเราเลือกใช้ผ้าทำม่านหน้ากว้าง 1.50 เมตร เราต้องใช้ผ้าทั้งหมด 14.4 เมตร

สูตรในการคำนวณผ้าม่านเหล่านี้เป็นสูตรที่ใช้ในการคำนวณผ้าม่านจีบและผ้าม่านตาไก่ ซึ่งเป็นผ้าม่านสองแบบที่นิยมใช้กันมากที่สุดในประเทศไทย

การใช้ผ้าม่านหน้ากว้าง 2.80 เมตรจะทำให้เราต้องใช้ผ้าในจำนวนที่น้อยกว่าการใช้ผ้าม่านหน้ากว้าง 1.50 เมตร และช่วยให้เราได้ประหยัดเวลาในการตัดเย็บ เพราะงานตัดเย็บผ้าม่านจะง่ายขึ้น และผ้าม่านก็จะออกมาสวยมากขึ้นด้วยเพราะจะไม่มีรอยต่อในการตัดเย็บ ความจริงใช้ผ้าทำม่านหน้ากว้าง 1.50 เมตร ก็ดูสวยได้เพราะช่างตัดเย็บม่านมืออาชีพสามารถตัดเย็บแบบหลบรอยต่อได้ แต่การตัดเย็บผ้าม่าน DIY ด้วยผ้าหน้ากว้าง 1.50 เมตร จะยากกว่าผ้าหน้ากว้าง 2.80 เมตร เพราะต้องตัดต่อผ้าทีละผืน แทนที่จะตัดตามยาวทีเดียว

ที่ร้านผ้าม่าน เอทีเอ็ม เดคอร์ มีจำหน่ายผ้าตัดม่านหน้ากว้าง 2.80 เมตร หลายชนิด เรามีผ้าตัดม่านแบบทั้งหน้ากว้าง 2.80 เมตร และหน้ากว้าง 1.50 เมตร เรามีชนิดและลายผ้าให้เลือกมากมาย เราเป็นร้านขายส่งและขายปลีกผ้าสำหรับทำผ้าม่าน เรามีทีมช่างตัดเย็บผ้าม่านรับตัดเย็บและติดตั้งแบบบริการครบวงจร หรือลูกค้าสามารถเลือกซื้อผ้าไปอย่างเดียวเพื่อตัดเย็บผ้าม่านก็ได้ เรามีบริการตัดเย็บผ้าม่านหลายแบบ เช่นผ้าม่านจีบ ผ้าม่านคอกระเช้า ผ้าม่านตาไก่ ผ้าม่านพับ เป็นต้น

 

Read More »
ร้านขายผ้าทำม่านและมีบริการตัดเย็บผ้าม่าน เอทีเอ็ม เดคอร์

การเพิ่มมิติของหน้าต่างด้วยผ้าม่านทำอย่างไร

การเพิ่มมิติของหน้าต่างให้ดูสวยงามยิ่งขึ้นด้วยการใช้ผ้าม่านต้องทำอย่างไร?
การเพิ่มมิติด้วยผ้าม่าน Dimensional Design: การออกแบบและตกแต่งหน้าต่างด้วยผ้าม่าน (Window Dressing) เป็นศิลปะชนิดหนึ่ง และศิลปะที่ดีควรจะเป็นเอกลักษ์และมีหลายมิติ ดังนั้นการเพิ่มมิติให้กับหน้าต่างบ้านนั้นเป็นการที่ทำให้บ้านดูเรียบหรูยิ่งขึ้น ดีไซน์ที่เพิ่มมิติ (Dimensional Design) ที่ดีควรคำนึงถึงจุดประสงค์และความสวยงามของมิตินั้น อย่างเช่นการเลือกใช้ผ้าม่านโปร่งเสริมข้างหลังผ้าม่านในห้องนอนเป็นการเพิ่มมิติความลึก (Depth) และเป็นการเพิ่มจำนวนชั้น (Layering) ผ้าม่าน การแต่ง Window Dressing ด้วยผ้าม่านโปร่งจะมอบความละเอียดอ่อน ความนุ่มนวล (Soft Touch) ให้กับบรรยากาศห้อง ถ้าเราเน้นให้ผ้าม่านดูสวยหรู เราอาจเลือกเพิ่มมิติผ้าม่านด้วยการตัดเย็บผ้าม่านหลุยส์ ซึ่งเป็นแบบผ้าม่านที่มีสองชั้นเหมือนผ้าม่านโปร่งแต่เน้นความหรูหรามากกว่าความนุ่มนวล ยิ่งถ้าทำผ้าม่านโปร่งเสริมผ้าม่านหลุยส์และทำเป็นผ้าม่านสามชั้น เราก็จะได้ความหรูหราและความนุ่มนวลพร้อมกัน และทำให้รูปห้องดูสวยหรูอลังการอย่างยิ่ง

เพิ่มจำนวนชั้นผ้าม่าน: เหมือนกับการเพิ่มมิติของผ้าม่านด้วยการเสริมผ้าม่านโปร่งและผ้าม่านหลุยส์ การเพิ่มมิติในห้องนอนสามารถทำได้ด้วยการเพิ่มจำนวนชั้นในการตกแต่งเตียง (Bed Dressing) ซึ่งก็คือการซื้อผ้าคลุมเตียงสวยๆ มาคลุมผ้าปูที่นอนอีกชั้นนั่นเอง การซื้อผ้าคลุมเตียงเป็นการเสริมชั้นตกแต่ง “Dimension” ให้กับเตียง เป็นต้น การเพิ่มมิติและ “ชั้น” ในศิลปะมีมากกว่าแค่การตกแต่งบ้าน การเสริมมิติจะทำให้ผลงานศิลปะชิ้นนั้นดูดีและมีสีสรรค์มากขึ้น อย่างเช่นการแต่งเรื่องเล่าดีๆควรที่จะมีความซับซ้อนเสริมเข้ามาอีกชั้นเพื่อให้เนื้อเรื่องสนุกและน่าติดตาม การแต่งเพลงที่ดีก็ควรที่จะมีทำนองเพลงมากกว่าแค่ทำนองเดียวเพื่อให้เสียงเพลงเพราะและน่าฟัง เป็นต้น

เพิ่มมิติในการตกแต่งตรงกันข้ามกับสไตล์ Minimalist: สไตล์การออกแบบงานศิลปะที่เพิ่มมิตินั้นจะตรงกันข้ามกับสไตล์ Minimalist (แบบเรียบง่าย และใช้สิ่งของแสดงงานน้อยชิ้น) เพราะการตกแต่งแบบเพิ่มมิติจะเน้นความเลิศหรูมากกว่าความเรียบง่าย เน้นสร้างสรรค์ในการออกแต่งห้อง แต่ถ้าเราอยากได้สไตล์ Minimalist คือการตกแต่งบ้านด้วยผ้าม่านที่ใช้ผ้าจำนวนน้อยอย่างเช่นม่านพับหรือการใช้ผ้าม่านแค่ชั้นเดียว ไม่เสริมม่านโปร่งหรือม่านหลุยส์ 

สไตล์ Minimalist คืออะไร?: สไตล์ Minimalist จะเน้นการตกแต่งด้วยจำนวนเฟอร์นิเจอร์ที่น้อยที่สุด การตกแต่งในสไตล์ Minimalist จะใช้จำนวนเฟอร์นิเจอร์ในห้องน้อยและเน้นความปลอดโปร่งและให้มีพื้นที่ทางเดินในบ้านกว้างๆ เป็นสไตล์ที่เน้นการใช้งานของเฟอ์นิเจอร์มากกว่าความสวยงาม ถ้าเราไม่ได้สนใจว่าต้องให้ห้องดูหวานอ่อนโยนหรือสวยหรู แต่ต้องการความเรียบง่ายแทน การเลือกตกแต่งบ้านด้วยสไตล์ Minimalist จะเหมาะกับคอนเซ็ปต์นี้ ถ้าปกติเราไม่ใช้ผ้าม่านโปร่ง ก็ไม่ต้องซื้อผ้าม่านโปร่ง ถ้าเราไม่ค่อยใช้โต๊ะดืมกาแฟ ก็ไม่ต้องซื้อโต๊ะกาแฟ ถ้าปกติไม่ใช้ผ้าคลุมเตียง ก็ไม่ต้องซื้อผ้ามาคลุมเตียง เป็นต้น สไตล์ดีไซน์แบบ Minimalist จะเน้นที่ฟังก์ชั่นอย่างเดียว ไม่เน้นความหรูหราและผู้ที่ชอบสไตล์นี้มักจะคิดว่าสิ่งที่ไม่ได้ใช้ในชิวิตประจำวันคือสิ่งของฟุ่มเฟือย

สไตล์การออกแบบที่ Unique ไม่เหมือนใคร: ถ้าอยากนำสไตล์ศิลปะที่มีความงดงามและเป็นเอกลักษ์ของตัวเองมาตกแต่งบ้าน เราต้องมีความสร้างสรรค์และความมั่นใจใน Artistic Sense ของตัวเอง การออกแบบที่ทำให้ผู้อื่นที่แวะมาบ้านต้องชื่นชมและทึ่งไปกับสไตล์การตกแต่งที่สวยพิเศษ เป็นสิ่งที่เราสามารถทำได้ มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์และไหวพริบศิลปะของตนเองทุกคน แต่อยู่ที่ว่าเราได้ฝึกฝนใช้มันมากน้อยแค่ไหน ถ้าเราไม่ค่อยได้ฝึกเลยก็จะทำให้เราขาดความมั่นใจและไม่กล้าตัดสินใจเองว่าจะออกแบบห้องและบ้านของเราอย่างไร แต่ถ้าทำได้สำเร็จ ก็จะทำให้เรารู้สึกความภาคภูมิใจในตัวเองเพราะเราไม่ได้ลอกเลียนแบบผู้อื่น ในโลกของ Idealism เราควรที่จะตกแต่งบ้านในลักษณะและสไตล์ที่สะท้อนถึงความเป็นตัวเรา

ไม่ยึดติดกับสไตล์การตกแต่งใด: อย่างหนึ่งที่ต้องระมัดระวังคือการยึดติดก้บสไตล์แบบใดแบบหนึ่งมากเกินไป เพราะบางสไตล์อาจทำให้เราต้องใช้งบประมาณมากกว่าที่เรากำหนดไว้ และทำให้ตกแต่งบ้านตามสไตล์นั้นไม่ไหว เราไม่ควรถูกสไตล์ใดมาบังคับให้ต้องใช้สิ่งที่ไม่ทำให้เราสบายใจ อย่างเช่นถ้าเราเลือกสไตล์การตกแต่งแบบ 1950 Mid-century ซึ่งจะเน้นออกแบบด้วยสิ่งของประดิษฐ์จากนักออกแบบชื่อดัง บางทีสิ่งที่สร้างโดยดีไซเนอร์ชื่อดังอาจจะแพงกว่างบที่ตั้งไว้ แต่แล้วเราบังคับตัวเองให้ซื้อมันเพื่อยึดติดกับสไตล์ Mid-century ที่เราได้เลือกไว้ ถ้าเราอยากได้เฟอร์นิเจอร์ทุกชิ้นจากดีไซน์เนอร์ผู้นั้นก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าเราไม่ได้ชอบบางสิ่งที่เขาออกแบบมา เราก็ไม่จำเป็นต้องซื้อสิ่งนั้นก็ได้ เรามีสิทธิเลือกสิ่งอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ในสไตล์การตกแต่งบ้านที่เราเลือก สมมุติว่าเราได้ตัดสินใจแล้วว่าอยากออกแบบบ้านด้วยสไตล์ Minimalist แต่เราอยากใช้ผ้าม่านโปร่งมาเสริมความนุ่มนวลให้รูปหน้าต่างห้อง เราก็สามารถเลือกใช้ผ้าม่านโปร่งมาเสริมอีกชั้นของผ้าม่านได้ ซึ่งอาจไม่ทำตาม Minimalist แต่ก็ไม่เป็นไร เพราะความสุขเราต้องมาเหนือสไตล์

การยึดติดกับสไตล์ใดสไตล์หนึ่งไม่ใช้เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด การตกแต่งบ้านที่ดูสบายตาและน่าอยู่สำหรับเราจะต้องสำคัญกว่า เราควรที่จะเลือกตกแต่งบ้านที่มอบความสุขให้กับตัวเรามากที่สุด

Read More »